วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกครั้งที่6
วันพฤหัสบดี ที่18 กุมภาพันธ์ 2559
เวลา08.30-11.30น.

กิจกรรมการเคลื่อนไหว
-อาจารย์ให้นักศึกษาทบทวนและฝึกซ้อมกิจกรรมท่าทางการเคลื่อนไหวของตนเองในแต่ละกลุ่มเพื่อสาธิตและนำเสนอหน้าห้อง


-อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมาแสดงการทำกิจกรรมเคลื่อนไหวของกลุ่มตนเองหน้าห้อง อย่างมีขั้นตอน ขั้นนำ และใช้เครื่องเคาะจังหวะ คือแทมมารีน โดยมีรูปแบบการทำกิจกรรมพอสังเขปดังนี้ 
     ํถ้าคุณครูเคาะ1ครั้งให้เด็กๆก้าว1ครั้ง ไปทิศทางใด้ก็ได้
     ํถ้าคุณครูเคาะ2ครั้งให้เด็กๆก้าว2ครั้ง ไปทิศทางใดก็ได้
     ํถ้าคุณครูเคาะรัวๆให้เด็กๆเคลื่อนไหวเร็วๆอย่างอิสระ
     ํถ้าคุณครูเคาะ2ครั้งติดกันและเร็ว ให้เด็กๆหยุดอยู่กับที่

กลุ่มที่1

กลุ่มที่2

กลุ่มที่3(กลุ่มดิฉันเอง)

กลุ่มที่4


-อาจารย์แนะนำเครื่องดนตรี "กระดิ่ง" ซึ่งใช้เป็นเครื่องให้สัญญาณหรือการทำกิจกรรมเคลื่อนไหวกับเด็กๆ โดยมีการเปรียบเทียบในแต่ละเสียง ว่ามีเสียง สูง หรือ ต่ำ กว่ากันหรือไม่อย่างไร ให้เด็กได้แยกเสียง แยกความหมายหรือสัญลักษณ์ในการปฏิบัติตอนทำกิจกรรมได้


-อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งตามกลุ่มของตนเอง จากนั้นก็แจกกระดิ่งกลุ่มละ2อัน ซึ่งมีเสียงที่แตกต่างกัน จากนั้นให้นักศึกษาลองคิดว่า จะจัดกิจกรรมอะไรให้เด็กๆ ที่ใช้ในการเคลื่อนไหวเพื่อให้เด็กๆได้แยกเสียงเป็นและปฏิบัติตามคำสั่งครูตามเสียงนั้นได้ โดยมีรูปแบบการทำกิจกรรมพอสังเขปดังนี้
ํถ้าครูกดกระดิ่ง(เสียงสูง) ให้เด็กๆทำตัวกว้างๆใหญ่ๆ
ํถ้าครูกดกระดิ่ง(เสียงต่ำ) ให้เด็กๆทำตัวเล็กๆที่สุด


กลุ่มที่1

กลุ่มที่2

กลุ่มที่3

กลุ่มที่4



ความรู้ที่ได้รับ
-ได้รู้จักและได้ฝึกฝนการสาธิตการสอนการทำกิจกรรมเคลื่อนไหวให้กับเด็กปฐมวัย
-ได้คิดและวางแผนร่วมกับสมาชิกในกลุ่มเพื่อทำกิจกรรม
-ได้ทดลองปฏิบัติแนวทางการสอนในสภาพจริง
-ได้เห็นถึงพัฒนาการที่เด็กจะได้รับและสิ่งที่เราควรปรับปรุง

ประเมินตนเอง
-ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี
-สนับสนุนเพื่อนและชื่นชมผลงานเพื่อนเพื่อให้กำลังใจ
-เข้าเรียนตรงเวลาและแต่งกายเรียบร้อย

ประเมินเพื่อน
-ตั้งใจทำกิจกรรมที่อาจารย์ได้มอบหมาย
-ทำงานอย่างสงบไม่เสียงดัง
-แต่งกายเรียบร้อย

ประเมินอาจารย์
-มีวิธีการให้ความรู้แนวทางกับนักศึกษาเป็นอย่างดี
-ติชมการทำกิจกรรมของนักศึกษาตามสภาพจริง
-น่ารัก แต่งกายเรียบร้อย
    

วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกครั้งที่5
วันพฤหัสบดี ที่11 กุมภาพันธ์ 2559
เวลา 08.30-11.30น.


เนื้อหา
สมรรถนะ (Competency) คือพฤติกรรมบ่งชี้ของแต่ละวัย
(ช่วงอายุ) ว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง (Can do)
ตัวอย่าง : การเคลื่อนไหวและการทรงตัว
3ปี - วิ่งและหยุดเองได้
4ปี - เดินต่อเท้าไปข้างหน้าโดยไม่กางแขน
5ปี - เดินต่อเท้าไปข้างหลังโดยไม่กางแขน
ความสำคัญ - ทำให้ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็กและครูปฐมวัย                        มีความรู้ความเข้าใจเด็กปฐมวัยมากขึ้น
                   - ชี้แนะแนวทางในการพัฒนาเด็กเป็น                                 เสมือน"คู่มือ"ช่วยแนะแนว
                   - ส่งเสริมวิธีการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยให้                        ได้คุณภาพดียิ่งขึ้น
สมรรถนะ7ด้าน ประกอบด้วย
1. การเคลื่อนไหวและสุขภาพทางกาย
2.พัฒนาการด้านสังคม
3.พัฒนาการด้านสังคม
4.พัฒนาการด้านการคิดและสติปัญญา
5.พัฒนาการด้านภาษา
6.พัฒนาการด้านจริยธรรม
7.พัฒนาการด้านความคิดสร้างสรรค์




กิจกรรมการเคลื่อนไหว
อาจารย์พานักศึกษาทำกิจกรรมเคลื่อนไหวก่อนเข้าสู่การเรียน โดยการเคลื่อนไหวรูปแบบเบนยิม การใช้ สติ สมาธิกับการเคลื่อนไหว ประมาณ4-5 ท่า ทำให้นักศึกษาได้ใช้สมาธิ ไหวพริบ ในการทำกิจกรรมนี้


 อาจารย์พานักศึกษาทำกิจกรรมเคลื่อนไหวแบบอยู่กับที่ ตามรูปแบบเบนยิม ประมาณ6-7ท่า ทำให้นักศึกษาได้ฝึกการเคลื่อนไหว ได้รู้วิธีการและรูปแบบการเคลื่อนไหว



อาจารย์ทบทวนระดับของการเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่ และสาธิตให้นักศึกษาดู ซึ่งประกอบด้วย3ระดับ
1.ระดับต่ำ      2.ระดับกลาง     3.ระดับสูง



อาจารย์พานักศึกษาทำกิจกรรมการเคลื่อนไหวโดยใช้เสียงของเครื่องดนตรี หรือที่เรียกว่า กระดิ่ง ที่ใช้สำหรับสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวของเด็กปฐมวัย โดยจะมีกระดิ่ง2อัน เสียงต่ำ และ เสียงสูง


อาจารย์พานักศึกษาทำกิจกรรมเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่โดยมีเสียงเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
อันดับแรกต้อให้เด็กๆที่พื้นที่สำหรับทำกิจกรรมได้เหมาะสม ไม่เกะกะเพื่อน สามารถแกว่งแขนเคลื่อนไหวอย่างอิสระได้สะดวกพอสมควร


อาจารย์จะเคาะ1ครั้ง ให้นักศึกษาก้าวเท้า1ก้าว
                 เคาะ2ครั้ง ให้นักศึกษาก้าว2ก้าว
                 เคาะรัวๆ ให้นักศึกษาเคลื่อนที่อย่างรวดเร็ว
                 เคาะ2ครั้งติดกัน ให้นักศึกษาหยุด
*ซึ่งการก้าวเท้า สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระทุกทิศทาง แต่ห้ามชนกับเพื่อน




ความรู้ที่ได้รับ
-ได้รู้จักวิธีการสอนเคลื่อนไหว
-ได้ฝึกการเคลื่อนไหวอย่างมีสมาธิ
-ได้ฝึกการกล้าแสดงออก

ประเมินตนเอง
-ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
-ตั้งใจฟังอาจารย์เวลาอาจารย์สอน
-แต่งกายถูกต้องตามระเบียบ

ประเมินเพื่อน
-ทุกคนตั้งใจทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนๆได้อย่างดี
-ทุกคนมีความกล้าที่จะแสดงออก
-ทุกคนแต่งกายสุภาพ

ประเมินอาจารย์
-มีวิธีการสอนที่เข้าใจง่ายน่าสนใจ
-ให้ความสนใจนักศึกษาทุกคน
-พูดจาไพเราะ น่ารัก และเป็นกันเองกับนักศึกษา








วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่3
วันจันทร์ ที่25 มกราคม 2559
เวลา 08.30-10.30 น.
เนื้อหาทฤษฎี


การเคลื่อนไหวแบบอยู่กับที่  เช่น ก้ม บิดตัว โยก เอน ลุก นั่ง 
การเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่ เช่น เดิน วิ่ง กระโดด ควบม้า
จุดประสงค์ของกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
-พัฒนาทุกส่วนของร่างกายให้ได้เคลื่อนไหวอย่างสัมพันธ์กัน
ให้เด็กได้ผ่อนคลายความตึงเครียด
-ให้เด็กได้รับประสบการณ์ ความสนุกสนานโดยผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย
การเตรียมร่างกาย
-ให้รู้จักส่วนต่างๆของร่างกาย
ขณะเคลื่อนไหวให้เด็กรู้ว่าอวัยวะใดที่กำลังเคลื่อนไหวอยู่
แนวทางการประเมิน
-สังเกตการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกาย
-สังเกตการทำท่าทางแปลกใหม่ไม่ซ้ำกัน
-สังเกตการแสดงออก
-สังเกตความสนใจการเข้าร่วมกิจกรรม
-สังเกตการทำท่าทางตามคำสั่งและข้อตกลง

วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่4
วันพฤหัสบดี ที่4 กุมภาพันธ์ 2559
เวลาเรียน 08.30-11.30น.
เนื้อหา
-อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอทฤษฎีที่เกี่ยวกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัยแต่ละด้าน
-กลุ่มที่1ด้านสังคม


-กลุ่มที่2ด้านร่างกาย


-กลุ่มที่3ด้านสติปัญญา


-กลุ่มที่4ด้านอารมณ์






ทฤษฎีพัฒนาการด้านร่างกาย
อาร์โนลด์ กีเซล    เป็นนักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ผู้เริ่มก่อตั้งสถาบันพัฒนาการเด็ก (Institute of Child Development) ณ มหาวิทยาลัยเยล ระหว่างปี ค.ศ. 1930-1940 อธิบายทฤษฎีเกี่ยวกับการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กว่า การเจริญเติบโตของเด็กทางร่างกาย  เนื้อเยื่อ อวัยวะ หน้าที่ของอวัยวะต่าง ๆ และพฤติกรรมที่ปรากฏขึ้นเป็นรูปแบบที่แน่นอนและเกิดขึ้นเป็นลำดับขั้น ประสบการณ์ และสภาพแวดล้อมเป็นองค์ประกอบรองที่ต่อเติมเต็มเสริมพัฒนาการต่าง ๆ

กีเซลเชื่อว่าวุฒิภาวะจะถูกกำหนดโดยพันธุกรรม และมีในเด็กแต่ละคนมาตั้งแต่เกิด ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เด็กแต่ละวัยมีความพร้อมทำสิ่งต่าง ๆ ได้ ถ้าวุฒิภาวะหรือความพร้อมยังไม่เกิดขึ้นตามปกติในวัยนั้น สภาพแวดล้อมจะไม่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการของเด็ก

อาร์โนลด์ กีเซล (Arnold Gesell) ได้สร้างเกณฑ์มาตรฐานสำหรับวัดพฤติกรรมของเด็กในแต่ละระดับ เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคลโดยใช้วิธีการสังเกตพฤติกรรม ซึ่งเขาได้แบ่งพัฒนาการของเด็กที่ต้องการวัดและประเมินออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่

1. พฤติกรรมด้านการเคลื่อนไหว (gross motor development) เป็นความสามารถของร่างกายที่ครอบคลุมถึงการบังคับอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายและความสัมพันธ์ ทางด้านการเคลื่อนไหวทั้งหมด

  2. พฤติกรรมด้านการปรับตัว(fine motor or adaptive  development)เป็นความสามารถในการประสานงานระหว่างระบบการเคลื่อนไหวกับระบบความรู้สึก เช่น การ ประสานงานระหว่างตากับมือ ซึ่งดูได้จากความสามารถในการใช้มือของเด็ก เช่น ในการตอบสนองต่อสิ่งที่ เป็นลูกบาศก์ การสั่นกระดิ่ง การแกว่งกำไล ฯลฯ ฉะนั้น พฤติกรรมด้านการปรับตัวจึงสัมพันธ์กับพฤติกรรม ทางด้านการเคลื่อนไหว

3. พฤติกรรมทางด้านภาษา(language development) 
ประกอบด้วยวิธีสื่อสารทุกชนิด  เช่น การแสดงออกทาง หน้าตา ท่าทาง การเคลื่อนไหวท่า ทางของร่างกาย ความสามารถในการเปล่งเสียง และภาษาพูดการเข้าใจในการสื่อสารกับผู้อื่น

4. พฤติกรรมทางด้านนิสัยส่วนตัวและสังคม (personal social development) เป็นความสามารถในการปรับตัวของเด็ก ระหว่างบุคคลกับบุคคลและบุคคลกับกลุ่มภายใต้ภาวะแวดล้อมและสภาพความเป็นจริงนับเป็นการปรับตัวที่ต้องอาศัยการเจริญเติบโตของสมองและระบบการเคลื่อนไหวประกอบกันในส่วนที่เกี่ยวกับความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็ก

ทฤษฎีของกีเซลและทฤษฎีของฟรอยด์
เกี่ยวข้องกับปฐมวัยอย่างไร

1.   ทฤษฎีของกีเซลเกี่ยวข้องด้านการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก
2.เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของเด็กในแต่ละระดับ โดยเน้นความแตกต่างระหว่างบุคคลประกอบด้วย
-     พฤติกรรมด้านการเคลื่อนไหว การบังคับอวัยวะต่างๆของร่างกาย
-     พฤติกรรมด้านการปรับตัว การประสานงานระหว่างตากับมือ การสั่น     
       กระดิ่ง พฤติกรรมด้านภาษา การแสดงออกทางหน้าตา การเปล่งเสียง
       การสื่อสารกับผู้อื่น
-พฤติกรรมด้านนิสัยส่วนตัวและสังคม การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก เช่น
ขั้นตอนการหยิบอาหารใส่ปาก การพัฒนาการจากศีรษะจรดเท้า เช่น เด็กพัฒนาการเริ่มจากหันศีรษะ ชั้นคอ คว่ำ คืบ นั่ง คลาน ยืน เดิน วิ่ง ตามลำดับ
  กิจกรรมการเคลื่อนไหว
-อาจารย์ให้นักศึกษาทำท่าเคลื่อนไหวอยู่กับที่คนละ1ท่า โดยออกไปนำเพื่อนทำที่หน้าห้อง ทีละคน

                             

-อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มคิดท่าเคลื่อนไหวกลุ่มละ10ท่า แล้วออกมาทำกิจกรรมหน้าห้องทีละกลุ่ม


-กลุ่มที่1



-กลุ่มที่2


-กลุ่มที่3


กลุ่มที่4

      

-จากนั้น อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละคน ออกมาทำท่าเคลื่อนไหวหน้าห้อง คนละ3ท่า ทีละคน


 ความรู้ที่ได้รับ
-ได้ฝึกการเคลื่อนไหวอยู่กับที่
-ได้ฝึกการแสดงออกหน้าห้องเรียน
-ได้ฝึกความเป็นผู้นำ

ประเมินตนเอง
-ให้ความร่วมมือในกิจกรรมเป็นอย่างดี
-ตั้งใจฟังในคำสั่งของอาจารย์เวลาสอน
-แต่งกายเรียบร้อย

ประเมินเพื่อน
-มีความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรม
-กล้าแสดงออกทุกคน
-ตั้งใจเรียนทุกคน

ประเมินอาจารย์
-ใส่ใจนักศึกษาทุกคน
-เปิดโอกาสให้นักศึกษาทุกคนได้ทำกิจกรรม
-แต่งกายเรียบร้อย