วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่4
วันพฤหัสบดี ที่4 กุมภาพันธ์ 2559
เวลาเรียน 08.30-11.30น.
เนื้อหา
-อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอทฤษฎีที่เกี่ยวกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัยแต่ละด้าน
-กลุ่มที่1ด้านสังคม


-กลุ่มที่2ด้านร่างกาย


-กลุ่มที่3ด้านสติปัญญา


-กลุ่มที่4ด้านอารมณ์






ทฤษฎีพัฒนาการด้านร่างกาย
อาร์โนลด์ กีเซล    เป็นนักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ผู้เริ่มก่อตั้งสถาบันพัฒนาการเด็ก (Institute of Child Development) ณ มหาวิทยาลัยเยล ระหว่างปี ค.ศ. 1930-1940 อธิบายทฤษฎีเกี่ยวกับการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กว่า การเจริญเติบโตของเด็กทางร่างกาย  เนื้อเยื่อ อวัยวะ หน้าที่ของอวัยวะต่าง ๆ และพฤติกรรมที่ปรากฏขึ้นเป็นรูปแบบที่แน่นอนและเกิดขึ้นเป็นลำดับขั้น ประสบการณ์ และสภาพแวดล้อมเป็นองค์ประกอบรองที่ต่อเติมเต็มเสริมพัฒนาการต่าง ๆ

กีเซลเชื่อว่าวุฒิภาวะจะถูกกำหนดโดยพันธุกรรม และมีในเด็กแต่ละคนมาตั้งแต่เกิด ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เด็กแต่ละวัยมีความพร้อมทำสิ่งต่าง ๆ ได้ ถ้าวุฒิภาวะหรือความพร้อมยังไม่เกิดขึ้นตามปกติในวัยนั้น สภาพแวดล้อมจะไม่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการของเด็ก

อาร์โนลด์ กีเซล (Arnold Gesell) ได้สร้างเกณฑ์มาตรฐานสำหรับวัดพฤติกรรมของเด็กในแต่ละระดับ เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคลโดยใช้วิธีการสังเกตพฤติกรรม ซึ่งเขาได้แบ่งพัฒนาการของเด็กที่ต้องการวัดและประเมินออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่

1. พฤติกรรมด้านการเคลื่อนไหว (gross motor development) เป็นความสามารถของร่างกายที่ครอบคลุมถึงการบังคับอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายและความสัมพันธ์ ทางด้านการเคลื่อนไหวทั้งหมด

  2. พฤติกรรมด้านการปรับตัว(fine motor or adaptive  development)เป็นความสามารถในการประสานงานระหว่างระบบการเคลื่อนไหวกับระบบความรู้สึก เช่น การ ประสานงานระหว่างตากับมือ ซึ่งดูได้จากความสามารถในการใช้มือของเด็ก เช่น ในการตอบสนองต่อสิ่งที่ เป็นลูกบาศก์ การสั่นกระดิ่ง การแกว่งกำไล ฯลฯ ฉะนั้น พฤติกรรมด้านการปรับตัวจึงสัมพันธ์กับพฤติกรรม ทางด้านการเคลื่อนไหว

3. พฤติกรรมทางด้านภาษา(language development) 
ประกอบด้วยวิธีสื่อสารทุกชนิด  เช่น การแสดงออกทาง หน้าตา ท่าทาง การเคลื่อนไหวท่า ทางของร่างกาย ความสามารถในการเปล่งเสียง และภาษาพูดการเข้าใจในการสื่อสารกับผู้อื่น

4. พฤติกรรมทางด้านนิสัยส่วนตัวและสังคม (personal social development) เป็นความสามารถในการปรับตัวของเด็ก ระหว่างบุคคลกับบุคคลและบุคคลกับกลุ่มภายใต้ภาวะแวดล้อมและสภาพความเป็นจริงนับเป็นการปรับตัวที่ต้องอาศัยการเจริญเติบโตของสมองและระบบการเคลื่อนไหวประกอบกันในส่วนที่เกี่ยวกับความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็ก

ทฤษฎีของกีเซลและทฤษฎีของฟรอยด์
เกี่ยวข้องกับปฐมวัยอย่างไร

1.   ทฤษฎีของกีเซลเกี่ยวข้องด้านการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก
2.เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของเด็กในแต่ละระดับ โดยเน้นความแตกต่างระหว่างบุคคลประกอบด้วย
-     พฤติกรรมด้านการเคลื่อนไหว การบังคับอวัยวะต่างๆของร่างกาย
-     พฤติกรรมด้านการปรับตัว การประสานงานระหว่างตากับมือ การสั่น     
       กระดิ่ง พฤติกรรมด้านภาษา การแสดงออกทางหน้าตา การเปล่งเสียง
       การสื่อสารกับผู้อื่น
-พฤติกรรมด้านนิสัยส่วนตัวและสังคม การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก เช่น
ขั้นตอนการหยิบอาหารใส่ปาก การพัฒนาการจากศีรษะจรดเท้า เช่น เด็กพัฒนาการเริ่มจากหันศีรษะ ชั้นคอ คว่ำ คืบ นั่ง คลาน ยืน เดิน วิ่ง ตามลำดับ
  กิจกรรมการเคลื่อนไหว
-อาจารย์ให้นักศึกษาทำท่าเคลื่อนไหวอยู่กับที่คนละ1ท่า โดยออกไปนำเพื่อนทำที่หน้าห้อง ทีละคน

                             

-อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มคิดท่าเคลื่อนไหวกลุ่มละ10ท่า แล้วออกมาทำกิจกรรมหน้าห้องทีละกลุ่ม


-กลุ่มที่1



-กลุ่มที่2


-กลุ่มที่3


กลุ่มที่4

      

-จากนั้น อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละคน ออกมาทำท่าเคลื่อนไหวหน้าห้อง คนละ3ท่า ทีละคน


 ความรู้ที่ได้รับ
-ได้ฝึกการเคลื่อนไหวอยู่กับที่
-ได้ฝึกการแสดงออกหน้าห้องเรียน
-ได้ฝึกความเป็นผู้นำ

ประเมินตนเอง
-ให้ความร่วมมือในกิจกรรมเป็นอย่างดี
-ตั้งใจฟังในคำสั่งของอาจารย์เวลาสอน
-แต่งกายเรียบร้อย

ประเมินเพื่อน
-มีความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรม
-กล้าแสดงออกทุกคน
-ตั้งใจเรียนทุกคน

ประเมินอาจารย์
-ใส่ใจนักศึกษาทุกคน
-เปิดโอกาสให้นักศึกษาทุกคนได้ทำกิจกรรม
-แต่งกายเรียบร้อย

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น