วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกครั้งที่10
วันจันทร์ ที่21 มีนาคม 2559
เวลาเรียน08.30-10.30น.
กิจกรรมการเคลื่อนไหว

อาจารย์ให้นักศึกษาสาธิตวิธีการสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวตามคำบรรยาย โดยต่อจากสัปดาห์ที่แล้วที่มีเพื่อนยังสอนไม่ครบทุกคนในห้อง ซึ่งเป็นการเริ่มจากการเคลื่อนไหวพื้นฐานก่อน แล้วจึงตามด้วยการเคลื่อนไหวตามคำบรรยาย โดยคำบรรยายนี้จะเป็นเรื่องราว เรื่องเล่า นิทาน หรือจะบรรยายสดๆเลยก็ได้ เพื่อที่จะให้เด็กๆเคลื่อนไหวตามเรื่องตามเหตุการณ์ที่คุณครูได้เล่ามา ให้เด็กๆฝึกการจินตนาการในการแสดงท่าทางต่างๆที่ได้ยินหรือตามความเข้าใจของเด็กๆ คุณครูก็จะสามารถสังเกตเด็กแต่ละคนได้ว่าเด็กคนไหนมีความคิดจินตนาการที่สร้างสรรค์มากน้อยเพียงใด ซึ่งระหว่างการทำกิจกรรมนั้นคุณครูก็อาจถามเด็กๆไปด้วยตามเรื่องราวสถาณการณ์นั้นๆ เพื่อให้เด็กบอกเล่าความคิดความรู้สึกของตนเองในขณะนั้น สำหรับเรื่องราวที่เพื่อนๆนำมาเล่าหรือบรรยายเช่น เรื่องราวของกระต่ายน้อย ฤดูฝน ต้นไม้ กิจวัติประจำวัน เป็นต้น









วันพฤหัสบดี ที่24 มีนาคม 2559
เวลาเรียน 08.30-11.30น.
กิจกรรมการเคลื่อนไหว
อาจารย์ให้นักศึกษาสาธิตวิธีการสอนการเคลื่อนไหวตามคำบรรยายของเด็กปฐมวัย โดยคนที่เหลือที่ยังไม่ได้สอนนั่นเอง ซึงจากที่เคยกล่าวไว้คือเป็นการทำกิจกรรมเคลื่อนไหวตามเรื่องเล่า เรื่องราว หรือนิทานก็ได้ เมื่อทำกิจกรรมการเคลื่อนไหวตามคำบรรยายเสร็จ อาจารย์ก็สอนนักศึกษาทำกิจกรรมเคลื่อนไหวในรูปแบบใหม่ที่อาจจะยากขึ้น มีรายละเอียด มีการคิด การจำ มากขึ้น โดยเป็นการเคลื่อนไหวตามคำสั่งหรือข้อตกลง ซึ่งคุณครูจะตกลงกับเด็กๆก่อนที่จะเริ่มทำกิจกรรม เพื่อทำกิจกรรมได้อย่างถูกต้อง เช่น คุณครูจะเคาะจังหวะต่อเนื่องไปเรื่อยๆ แล้วเคาะสองครั้งติดกันเพื่อให้เด็กๆหยุด แล้วคุณครูจะบอกว่า ให้เด็กๆวิ่งไปที่มุมบล็อค หรือ ให้เด็กๆกระโดดช้าๆไปที่มุมหนังสือ หรืออาจจะมีเนื้อหาที่ยากกว่าเช่น ถ้าคุณครูชูรูปสามเหลี่ยม ให้เด็กๆวิ่งไปที่มุมดนตรี ถ้าคุณครูชูรูปวงกลม ให้เด็กๆวิ่งไปที่มุมบ้าน ถ้าคุณครูชูรูปสี่เหลี่ยมให้เด็กๆวิ่งไปที่มุมหนังสือ เป็นต้น เป็นการสร้างข้อตกลงในการทำกิจกรรมที่มีรายละเอียดเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เด็กๆได้ฝึกคิด จำ ฝึกไหวพริบ หรือความสัมพันธ์ และเป็นการฝึกคิดของคุณครูไปในตัวอีกด้วย ยิ่งมีเนื้อหาที่ซับซ้อนมากเท่าไหร่ก็จะทำให้การทำกิจกรรมนี้สนุกมากยิ่งขึ้น เมื่ออาจารย์ได้อธิบายเนื้อหาของการทำกิจกรรมการเคลื่อนไหวตามคำสั่งหรือข้อตกลงแล้ว อาจารย์ก็สาธิตการสอนกิจกรรมให้ดูเพื่อความเข้าใจ หลังจากนั้นก็ให้ให้นักศึกษาแต่ละคน คิดข้อตกลงหรือคำสั่งของตนเองเพื่อให้เตรียมหรือกลับไปซ้อมที่บ้าน เพื่อนำมาทำกิจกรรมในสัปดาห์ต่อไป









ความรู้ที่ได้
-ได้ฝึกฝนตนเองในเรื่องของการสอนและคิดหาวิธีการ
-ได้เรียนรู้และศึกษาแนวทางในการสอนกิจกรรมเคลื่อนไหว
-ได้เรียนรู้และลองผิดลองถูกในการทำกิจกรรม

ประเมินตนเอง
-ตั้งใจฟังเวลาที่อาจารย์สอน
-ให้ความร่วมมือในการเรียนการสอนการทำกิจกรรม
-ชื่มชมเพื่อนเมื่อเพื่อนทำผลงานออกมาดี

ประเมินเพื่อน
-ทุกคนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี
-ทุกคนตั้งใจฟังอาจารย์เวลาสอน
-ทุกคนมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง

ประเมินอาจารย์
-มีวิธีการสอนที่ดีและน่าสนใจ
-สร้างบรรยากาศในการเรียนให้ผ่อนคลายไม่ตึงเครียด
-แต่งกายสุภาพเรียบร้อยและหน้ารักเสมอ
                   

วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกครั้งที่9
วันจันทร์ ที่14 มีนาคม 2559
เวลาเรียน 08.30-10.30น.

กิจกรรมการเคลื่อนไหว

อาจารย์สาธิตวิธีการสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวให้กับนักศึกษา 

อย่างละสเต็ปเพื่อที่จะให้นักศึกษาออกมาสอนเพื่อนๆหน้าห้อง

ทีละคน โดยจะมีขั้นของการทำกิจกรรมเคลื่อนไหวดังนี้

-ขั้นนำ

-ขั้นสัมพันธ์เนื้อหา

-ขั้นผู้นำผู้ตาม

-ขั้นผ่อนคลาย
เพื่อที่จะดูสกิลการสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวของนักศึกษาแต่ละ

คน และสามารถแนะนำในจุดต่างๆได้












วันพฤหัสบดี ที่17 มีนาคม 2559
เวลาเรียน 08.30-11.30น.
กิจกรรมการเคลื่อนไหว
อาจารย์สาธิตวิธีการสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวแบบมีรายละเอียดเพิ่มมากขึ้น คือ การเคลื่อนไหวแบบบรรยาย จะมีคำบรรยายพร้อมกับให้เด็กเคลื่อนไหวไปด้วย ซึ่งคล้ายๆการเล่านิทานแล้วให้เด็กทำท่าทางประกอบนิทานหรือเรื่องเล่านั้นไปด้วย และระหว่างบรรยายครูก็สามารถถามเด็ก หรือถามในสิ่งที่เขากำลังทำได้ เพื่อสังเกตและประเมินการจินตนาการ ความคิดของเด็ก

ซึ่งในคาบเรียนนี้ มีเพื่อน3คน ออกมาทำกิจกรรมนี้ เพื่อเป็นการฝึกฝนทดสอบความสามารถในการสอนแบบบรรยายของตนเอง เพื่อเป็นแนวทางในการสอนเด็กปฐมวัย หรืออาจมีความคิดจินตนาการเพิ่มเติมนอกเหนือจากในกิจกรรมนี้ก็เป็นได้







ความรู้ที่ได้รับ
-ได้ฝึกฝนตนเองในเรื่องของการสอนและคิดหาวิธีการ
-ได้เรียนรู้และศึกษาแนวทางในการสอนกิจกรรมเคลื่อนไหว
-ได้เรียนรู้และลองผิดลองถูกในการทำกิจกรรม

ประเมินตนเอง
-ตั้งใจฟังเวลาที่อาจารย์สอน
-ให้ความร่วมมือในการเรียนการสอนการทำกิจกรรม
-ชื่มชมเพื่อนเมื่อเพื่อนทำผลงานออกมาดี

ประเมินเพื่อน
-ทุกคนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี
-ทุกคนตั้งใจฟังอาจารย์เวลาสอน
-ทุกคนมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง

ประเมินอาจารย์
-มีวิธีการสอนที่ดีและน่าสนใจ
-สร้างบรรยากาศในการเรียนให้ผ่อนคลายไม่ตึงเครียด
-แต่งกายสุภาพเรียบร้อยและหน้ารักเสมอ


วันเสาร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกครั้งที่8
วันพุธ ที่9 มีนาคม 2559
เวลาเรียน08.30-11.30น.
กิจกรรมการเคลื่อนไหว
อาจารย์สาธิตวิธีการสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวให้กับนักศึกษา อย่างละสเต็ปเพื่อที่จะให้นักศึกษาออกมาสอนเพื่อนๆหน้าห้องทีละคน โดยจะมีขั้นของการทำกิจกรรมเคลื่อนไหวดังนี้
-ขั้นนำ
-ขั้นสัมพันธ์เนื้อหา
-ขั้นผู้นำผู้ตาม
-ขั้นผ่อนคลาย
เพื่อที่จะดูสกิลการสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวของนักศึกษาแต่ละคน และสามารถแนะนำในจุดต่างๆได้




ความรู้ที่ได้รับ
-ได้รู้แนวทางในการสอนกิจกรรมการเคลื่อนไหวกับเด็กๆ
-ได้ฝึกการคิดกิจกรรมเคลื่อนไหวแบบต่างๆที่สร้างสรรค์
-ได้เตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหว

ประเมินตนเอง
-ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
-ตั้งใจฟังในเวลาที่อาจารย์สาธิตกิจกรรม
แต่งกายถูกระเบียบ

ประเมินเพื่อน
-มีความมุ่งมั่นตั้งใจในการรับความรู้
-ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
-แต่งกายถูกระเบียบ

ประเมินอาจารย์
-มีวิธีการสอนที่น่าสนใจ
-ให้ความสนใจนักศึกษาทุกคน
-แต่งกายถูกระเบียบ

วันเสาร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกครั้งที่7
วันพุธ ที่2 มีนาคม 2559
เวลา 08.30-15.00น.

ศึกษาดูงานที่โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์
อาจารย์นำนักศึกษาไปศึกษาดูงานการจัดการเรียนการสอน ที่โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์

ประวัติ


โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์ เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตั้งอยู่ในอาคารสงเคราะห์พิบูลเวศม์ ถนนสุขุมวิท 71 กรุงเทพมหานคร ในที่ดินของธนาคารสงเคราะห์ (ปัจจุบันโอนเป็นอาคารเคหะแห่งชาติ) ซึ่งมีเนื้อที่จำนวน 1 ไร่ 2 งาน 88 ตารางวา พร้อมอาคานึกชั้นเดียว จำนวน 2 หลัง หลังละ 2 ห้องเรียน (ได้รื้อก่อสร้างเป็นตึกอาคารเรียน 1 และอาคารเรียน 2 ในปัจจะบัน) และอาคารทรงไทย 1 หลัง ได้มอบให้กระทรวงศึกษาธิการ เปิดสอนชั้นอนุบาลเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2498 โดยตั้งชื่อว่า "โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์" สังกัดแผนกการศึกษาอนุบาล กองการศึกษาพิเศษ กรมสามัญศึกษา
วันที่ 1 ตุลาคม 2523 โอนมาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติการโอนโรงเรียนประถมศึกษา พ.ศ.2523 เมื่อวันทีี่ 12 พฤษาคม 2524 การเคหะแห่งชาติได้ยกกรรมสิทธิ์การใช้ที่ดินเพิ่มให้อีก 1 แปลง มีเนื้อที่ 1 ไร 3 งาน 88 ตารางวาซึ่งติดกับแปลงที่ดินเดิม (เนื้อที่ 1 ไร่ 2 งาน 88 ตารางวา) ให้กับสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ รวมเป็นเนื้อที่ผืนเดียวกันรวม 3 ไร่ 2 งาน 76 ตารางวา เพื่อให้ใช้เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาขยายโรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์ วันที่ 7 กรกฎาคม 2546 โอนมาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานตามประกาศในราชกิจจานุเบกขา เล่มที่ 120 ตอนที่ 63 ก ปัจจุบันทำการสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล 3 ขวบ,ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่6



ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์
นายสุวรรณ ยะรังวงษ์
รองผู้อำนวยการโรงเรียน
ฝ่ายบริหารวิชาการ และฝ่ายบริหารงานบุคคล
นายศรีจันทร์ ปัสสาคำ
ที่ปรึกษา
ฝ่ายบริหารงบประมาณ และบริหารงานทั่วไป
นายไพศาล เทียมเวช


จำนวนครู
ทั้งหมด125 คน 
จำนวนห้องเรียนระดับปฐมวัย
อนุบาล3ขวบ3ห้อง / อนุบาล1 5ห้อง / อนุบาล2 5ห้อง = รวม13 ห้อง



กิจกรรมที่จัดให้กับเด็กปฐมวัยในแต่ละวัน(การเคลื่อนไหว)
-หลังจากเคารพธงชาติตอนเช้า ประธานนักเรียนจะเป็นผู้นำกิจกรรมเคลื่อนไหว หรือออกกำลังกาย เข้าจังหวะ โดยทำไปพร้อมๆกันทุกคน รวมถึงคุณครูที่ยืนคุมแถวของนักเรียนด้วย เป็นการเคลื่อนไหวโดยใช้เสียงเพลง ซึ่งเด็กๆจะทำเป็นประจำทุกวันในเวลาเดิมแบบนี้ สามารถทำให้คุณครูหรือผู้ปกครองประเมินได้ว่าเด็กสามารถทำกิจกรรมการเคลื่อนไหวนี้ได้หรือไม่อย่างๆไร และกิจกรรมนี้ทำให้เด็กได้ใช้กำลังแขน-ขาในการเคลื่อนไหว จึงมีส่วนที่การออกกำลังกายนี้จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการสมองไปด้วย ทำให้สมองปลอดโปร่ง มีความจำที่ดีขึ้นและเรียนอย่างมีความสุข
-ในการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียน คุณครูจะเป็นผู้สอนกิจกรรมการเคลื่อนไหว ซึ่งเปิดเพลงโดยใช้เครื่องเสียง และเด็กๆสามารถร้องตามได้ เต้นประกอบกับจังหวะเพลงได้อย่างสนุกสนาน
การจัดสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียนและภายนอกห้องเรียน สื่อการสอน
ภายนอกห้องเรียนหรือบริเวณในโรงเรียนสะอาดมาก ร่มรื่น และบรรยากาศดีมาก ตามระเบียงหรืออาคารก็จะจัดต้นไม้ไว้อย่างสวยงาม ภายในห้องเรียนแต่ละห้องจะมีการจัดสภาพแวดล้อมน่าเรียนมาก บรรยากาศอบอุ่นทำให้สนใจและตั้งใจเรียนหรือทำกิจกรรมอย่างมาก มีสื่อการสอนที่เป็นทั้งของจริงเช่นหิน หรือเป็นสื่อที่จัดกับ6กิจกรรมหลักเช่นมุมห้องครัว จะมีเครื่องครัว มุมตุ๊กตา หรือจะเป็นสื่อที่เป็นเกมการศึกษา สื่อที่คุณครูทำเอง และผลงานที่เด็กๆทำเอง ซึ่งคุณครูได้จัดเรียงไว้ตามมุมอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย



ความประทับใจ
-เด็กๆน่ารักมากมีสัมมาคาระเวลาที่นักศึกษาเดินเข้าไปในห้องเรียนเด็กทุกคนยกมือไหว้
-สภาพแวดล้อมดี บรรยากาศดี ร่มรื่น อบอุ่น
-คุณครูเป็นกันเองกับนักศึกษาให้ข้อมูลชี้แนะ และแนะนำสถานที่ต่างๆกับนักศึกษาเป็นอย่างดี
-เห็นเด็กๆในเวลาที่เขากำลังทำกิจกรรมแล้วเรามีความสุขไปด้วย
-การจัดระเบียบการรับประทานอาหารกลางวันของเด็กอนุบาลมีระเบียบมาก


ความรู้ที่ได้
-ได้เห็นและเรียนรู้ถึงศักยภาพของการเป็นนักศึกษาฝึกสอน ซึ่งเราต้องทำหน้าที่นี้ในอนาคต
-ได้รู้จักแนวคิดการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบต่างๆที่สามารถพัฒนาเด็กๆให้ได้รับประโยชน์สูงสุด
-ได้เรียนรู้บรรยากาศจริงในการฝึกสอนจากพี่นักศึกษาฝึกสอน
-ได้ข้อคิดว่าเราต้องเตรียมความพร้อมให้มากที่สุดในตอนนี้ เพื่อแสดงความสามารถเต็มที่เมื่อออกฝึกสอน
-ได้แนวทางในการพัฒนาเด็กซึ่งดูจากสภาพแวดล้อมทั่วไปโดยรวมของเด็ก ซึ่งเด็กแต่ละคนมีความแตกต่าง
-ได้เห็นถึงความแตกต่างในรูปแบบการสอนระหว่างห้องเรียนปกติและห้องเรียนMEP