วันเสาร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกครั้งที่7
วันพุธ ที่2 มีนาคม 2559
เวลา 08.30-15.00น.

ศึกษาดูงานที่โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์
อาจารย์นำนักศึกษาไปศึกษาดูงานการจัดการเรียนการสอน ที่โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์

ประวัติ


โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์ เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตั้งอยู่ในอาคารสงเคราะห์พิบูลเวศม์ ถนนสุขุมวิท 71 กรุงเทพมหานคร ในที่ดินของธนาคารสงเคราะห์ (ปัจจุบันโอนเป็นอาคารเคหะแห่งชาติ) ซึ่งมีเนื้อที่จำนวน 1 ไร่ 2 งาน 88 ตารางวา พร้อมอาคานึกชั้นเดียว จำนวน 2 หลัง หลังละ 2 ห้องเรียน (ได้รื้อก่อสร้างเป็นตึกอาคารเรียน 1 และอาคารเรียน 2 ในปัจจะบัน) และอาคารทรงไทย 1 หลัง ได้มอบให้กระทรวงศึกษาธิการ เปิดสอนชั้นอนุบาลเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2498 โดยตั้งชื่อว่า "โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์" สังกัดแผนกการศึกษาอนุบาล กองการศึกษาพิเศษ กรมสามัญศึกษา
วันที่ 1 ตุลาคม 2523 โอนมาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติการโอนโรงเรียนประถมศึกษา พ.ศ.2523 เมื่อวันทีี่ 12 พฤษาคม 2524 การเคหะแห่งชาติได้ยกกรรมสิทธิ์การใช้ที่ดินเพิ่มให้อีก 1 แปลง มีเนื้อที่ 1 ไร 3 งาน 88 ตารางวาซึ่งติดกับแปลงที่ดินเดิม (เนื้อที่ 1 ไร่ 2 งาน 88 ตารางวา) ให้กับสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ รวมเป็นเนื้อที่ผืนเดียวกันรวม 3 ไร่ 2 งาน 76 ตารางวา เพื่อให้ใช้เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาขยายโรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์ วันที่ 7 กรกฎาคม 2546 โอนมาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานตามประกาศในราชกิจจานุเบกขา เล่มที่ 120 ตอนที่ 63 ก ปัจจุบันทำการสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล 3 ขวบ,ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่6



ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์
นายสุวรรณ ยะรังวงษ์
รองผู้อำนวยการโรงเรียน
ฝ่ายบริหารวิชาการ และฝ่ายบริหารงานบุคคล
นายศรีจันทร์ ปัสสาคำ
ที่ปรึกษา
ฝ่ายบริหารงบประมาณ และบริหารงานทั่วไป
นายไพศาล เทียมเวช


จำนวนครู
ทั้งหมด125 คน 
จำนวนห้องเรียนระดับปฐมวัย
อนุบาล3ขวบ3ห้อง / อนุบาล1 5ห้อง / อนุบาล2 5ห้อง = รวม13 ห้อง



กิจกรรมที่จัดให้กับเด็กปฐมวัยในแต่ละวัน(การเคลื่อนไหว)
-หลังจากเคารพธงชาติตอนเช้า ประธานนักเรียนจะเป็นผู้นำกิจกรรมเคลื่อนไหว หรือออกกำลังกาย เข้าจังหวะ โดยทำไปพร้อมๆกันทุกคน รวมถึงคุณครูที่ยืนคุมแถวของนักเรียนด้วย เป็นการเคลื่อนไหวโดยใช้เสียงเพลง ซึ่งเด็กๆจะทำเป็นประจำทุกวันในเวลาเดิมแบบนี้ สามารถทำให้คุณครูหรือผู้ปกครองประเมินได้ว่าเด็กสามารถทำกิจกรรมการเคลื่อนไหวนี้ได้หรือไม่อย่างๆไร และกิจกรรมนี้ทำให้เด็กได้ใช้กำลังแขน-ขาในการเคลื่อนไหว จึงมีส่วนที่การออกกำลังกายนี้จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการสมองไปด้วย ทำให้สมองปลอดโปร่ง มีความจำที่ดีขึ้นและเรียนอย่างมีความสุข
-ในการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียน คุณครูจะเป็นผู้สอนกิจกรรมการเคลื่อนไหว ซึ่งเปิดเพลงโดยใช้เครื่องเสียง และเด็กๆสามารถร้องตามได้ เต้นประกอบกับจังหวะเพลงได้อย่างสนุกสนาน
การจัดสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียนและภายนอกห้องเรียน สื่อการสอน
ภายนอกห้องเรียนหรือบริเวณในโรงเรียนสะอาดมาก ร่มรื่น และบรรยากาศดีมาก ตามระเบียงหรืออาคารก็จะจัดต้นไม้ไว้อย่างสวยงาม ภายในห้องเรียนแต่ละห้องจะมีการจัดสภาพแวดล้อมน่าเรียนมาก บรรยากาศอบอุ่นทำให้สนใจและตั้งใจเรียนหรือทำกิจกรรมอย่างมาก มีสื่อการสอนที่เป็นทั้งของจริงเช่นหิน หรือเป็นสื่อที่จัดกับ6กิจกรรมหลักเช่นมุมห้องครัว จะมีเครื่องครัว มุมตุ๊กตา หรือจะเป็นสื่อที่เป็นเกมการศึกษา สื่อที่คุณครูทำเอง และผลงานที่เด็กๆทำเอง ซึ่งคุณครูได้จัดเรียงไว้ตามมุมอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย



ความประทับใจ
-เด็กๆน่ารักมากมีสัมมาคาระเวลาที่นักศึกษาเดินเข้าไปในห้องเรียนเด็กทุกคนยกมือไหว้
-สภาพแวดล้อมดี บรรยากาศดี ร่มรื่น อบอุ่น
-คุณครูเป็นกันเองกับนักศึกษาให้ข้อมูลชี้แนะ และแนะนำสถานที่ต่างๆกับนักศึกษาเป็นอย่างดี
-เห็นเด็กๆในเวลาที่เขากำลังทำกิจกรรมแล้วเรามีความสุขไปด้วย
-การจัดระเบียบการรับประทานอาหารกลางวันของเด็กอนุบาลมีระเบียบมาก


ความรู้ที่ได้
-ได้เห็นและเรียนรู้ถึงศักยภาพของการเป็นนักศึกษาฝึกสอน ซึ่งเราต้องทำหน้าที่นี้ในอนาคต
-ได้รู้จักแนวคิดการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบต่างๆที่สามารถพัฒนาเด็กๆให้ได้รับประโยชน์สูงสุด
-ได้เรียนรู้บรรยากาศจริงในการฝึกสอนจากพี่นักศึกษาฝึกสอน
-ได้ข้อคิดว่าเราต้องเตรียมความพร้อมให้มากที่สุดในตอนนี้ เพื่อแสดงความสามารถเต็มที่เมื่อออกฝึกสอน
-ได้แนวทางในการพัฒนาเด็กซึ่งดูจากสภาพแวดล้อมทั่วไปโดยรวมของเด็ก ซึ่งเด็กแต่ละคนมีความแตกต่าง
-ได้เห็นถึงความแตกต่างในรูปแบบการสอนระหว่างห้องเรียนปกติและห้องเรียนMEP


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น